ทางรถยนต์

กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่

  • ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
  • ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
  • ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
  • ถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)

ทั้งนี้ มีทางหลวงสายหลักที่ไม่ได้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี แต่ในสะพานข้ามคลองยังคงนับหลักกิโลเมตรจากกรุงเทพมหานครอยู่

ทางหลวงพิเศษ

ในเขตกรุงเทพมหานครมีทางหลวงพิเศษ 3 สาย ได้แก่

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนมอเตอร์เวย์) รวม 126 กิโลเมตร เปิดใช้บริการครั้งแรก 79 กิโลเมตร 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) เปิดใช้บริการส่วนต่อขยายครั้งล่าสุด (ด้านใต้) วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี)

ทางยกระดับ

ทางยกระดับอุตราภิมุข มีระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในการบริหารจัดการโดยบริษัททางยกระดับดอนเมืองจำกัด (มหาชน) ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรจากดินแดงถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (ทางยกระดับดอนเมือง) เปิดบริการเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในการบริหารจัดการโดยกรมทางหลวง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร จากอนุสรณ์สถานแห่งชาติถึงรังสิต (ส่วนของกรมทางหลวง) เปิดบริการเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2541

ทางคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรระยะทาง 4.50 กิโลเมตร และจากทางแยกต่างระดับสิรินธรถึงจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณเลยจุดข้ามทางแยกต่างระดับพุทธมณฑล สาย 2 ไปอีก 500 เมตร ระยะทาง 9.30 กิโลเมตร เปิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541

ทางพิเศษ

กรุงเทพมหานครมีทางพิเศษ (ทางด่วน) ทั้งหมด 9 เส้นทาง ทางเชื่อมพิเศษทั้งหมด 2 เส้นทาง แบ่งเป็นทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 8 เส้นทาง[70] ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2 เส้นทาง และ ทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง 1 เส้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาชนต้องชำระเงินเป็นกรณีพิเศษ

ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย

  • สายดินแดง-ท่าเรือ ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524
  • สายบางนา-ท่าเรือ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 17 มกราคม พ.ศ. 2526
  • สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
  • ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ระยะทางรวม 28.4กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 กันยายน พ.ศ. 2536
  • ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ทางพิเศษฉลองรัชได้เปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539
  • ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี) ระยะทาง 55 กิโลเมตร เปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
  • ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร ระยะที่ 1 ทาง 22 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 ธันวาคม 2541 และระยะที่ 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
  • ทางพิเศษสาย S1 ระยะทาง 4.7 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร เปิดให้บริการ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548
  • ทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552
  • ทางพิเศษสายสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
  • ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
  • ทางเชื่อมทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์กับทางพิเศษบูรพาวิถีเปิดบริการ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
  • ทางเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์กับถนนวงแหวนอุตสาหรรม 2 กิโลเมตรเปิดใช้ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

carrwe car

Leave a comment